เอาบทความ The first ceramics มาฝากค่ะ  

Posted by Ceramic Lampang Online

Ceramics are produced by heating natural earth until it changes form (without melting -- glasses are formed by earth heated until it melts and then cools). 

Ceramics are different from merely dried earth or clay, which soften when rewet. Cements and plasters, although similar after hardening in some properties to ceramics, are produced by powdering a mineral and bonding the grains together with water. The high heat at which ceramics are produced drives off water chemically bound to the earth as well as any water that has soaked into it. The result of such heating, depending in part on the type of clay or earth, can be terra cotta, stoneware, china, porcelion, brick, or tile

True ceramics appear rarely in nature, but are sometimes the result of lightning strikes and forest fires. From the control of fire by Homo erectus to the accidental production of ceramics is a very short step. Apparently, the deliberate production of ceramics had to wait until the more inventive Homo sapiens arrived on the scene.

At one time archaeologists believed that deliberate ceramics were a fairly recent discovery, 10,000 years old at the most. A popular theory was that basketry was invented first, but baskets do not hold liquids well. According to this theory, early people solved this problem by lining baskets with clay, which is impermeable. Sometimes baskets so lined got burned and the clay lining was left behind as a pot. Eventually, people found that they did not have to start with the basket. This theory is reminiscent of Charles Lamb's famous essay on the discovery of roast pig via burning down the house.

Ceramics may or may not precede basketry (which is, of course, biodegradable and easily lost from the archaeological record), but they certainly date much before 10,000 bce. Furthermore, ceramics were being deliberately made well before the first known ceramic pot. About 28,000 bce, in the region now known as the Czech Republic, people built kilns and produced small ceramic figures and beads. Ovens that may have been kilns as well go back another 14,000 years.

Practical ceramics -- pottery and brick -- start with the Neolithic Revolution. The first bricks, however, were not ceramics; they were adobe, clay or mud hardened by drying but without the chemically bound water driven off by heat. When kiln-dried bricks became available, the cost of making them resulted in their being reserved for special monumental buildings; the common people continued to build houses with sun-dried brick.

Pottery was shaped by hand during the Neolithic. Sometimes a large pot would be built and fired in sections that were then glued together with clay and fired again. The invention of the potter's wheel near the start of civilization was a great step, leading not only to better pottery but also to the general principle of the wheel for use in transportation and machinery.

www.answers.com

มารู้จักวัดพระธาตุลำปางหลวงกัน  

Posted by Ceramic Lampang Online

                  
วันนี้ร้าน ceramiclampangonline พามาไหว้พระกันค่ะ

วัดพระธาตุลำปางหลวง เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองลำปางมาแต่โบราณ ตามตำนานกล่าวว่ามีมาตั้งแต่สมัยพระนางจามเทวี ในราวพุทธศตวรรษที่ 20 ตอนปลาย เป็นวัดไม้ที่สมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของไทย งดงามด้วยสถาปัตยกรรมเก่าแก่มากมายได้แก่  
  • พระธาตุลำปางหลวง  เป็นพระธาตุประจำปีเกิดของคนปีฉลู ด้วยเริ่มสร้างในปีฉลูและเสร็จในปีฉลูเช่นกัน ฐานเป็นบัวลูกแก้ว ส่วนองค์เป็นทรงกลมแบบล้าน ภายนอกบุด้วยทองจังโก ยอดฉัตรทำด้วยทองคำ มีลายสลักดุน เป็นลวดลายประจำยามแบบต่าง ๆ ลักษณะเจดีย์แบบนี้ได้ส่งอิทธิพลต่อพระธาตุหริภุญไชย และพระบรมธาตุจอมทอง ภายในองค์พระเจดีย์บรรจุพระเกศา และพระอัฐิธาตุจากพระนลาฎข้างขวา พระศอด้านหน้าและด้านหลัง ที่รั้วทองเหลืองรอบองค์พระธาตุมีรูกระสุนปืนที่หนานทิพย์ช้างยิงท้าวมหายศ ปรากฏอยู่
  • วิหารหลวง  วิหารขนาดใหญ่ที่สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2019 โดยเจ้าหมื่นคำเป๊ก ภายในมีซุ้มปราสาททองเป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าล้านทอง ด้านหลังเปนที่ประดิษฐานพระเจ้าทันใจ บนแผงไม้คอสองมีภาพจิตรกรรมเก่าแก่งดงามเรื่องทศชาติและพรหมจักร
  • วิหารพระพุทธ ไม่ปรากฏว่าสร้างเมื่อใด และใครเป็นผู้สร้าง แต่ประมาณอายุไม่ต่ำกว่า 700 ปี เดิมเป็นวิหารเปิดโล่งหน้าบันเป็นลายดอกไม้ติดกระจกสี ภายในประดิษฐานพระประธานเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่เต็มอาคาร ก่ออิฐถือปูน ศิลปะเชียงแสน และยังปรากฏเงาพระธาตุภายในวิหารอีกด้วย
  • เมื่อหันหน้าเข้าหาวิหารหลวง ด้านขวามือ คือ วิหารน้ำแต้ม หรือวิหารภาพเขียนสี (“แต้ม” แปลว่า ภาพเขียน) สร้างเมื่อ พ.ศ.2044 เป็นวิหารเปิดโล่งที่เก่าแก่ที่สุดอีกหลังหนึ่งทางภาคเหนือ ภายในเป็นรูปแบบของสถาปัตยกรรมไทยที่งดงาม ไม่มีฝ้าเพดาน กำแพงด้านพระประธานเขียนภาพลายทองบนพื้นรักแดง มีภาพจิตรกรรมศิลปะล้านนาบนแผงไม้คอสองที่กล่าวกันว่าเก่าแก่ที่สุด และหลงเหลือเพียงแห่งเดียวในเมืองไทย อายุราวพุทธศตวรรษที่ 21 ลงมา แต่ปัจจุบันภาพเขียนลบเลือนไปมาก และประดิษฐานพระพุทธรูปสัมริดปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 1.25 เมตร สูง 1.25 เมตร
  • ซุ้มพระบาท สร้างครอบพระพุทธบาทไว้ ฐานก่อขึ้นเป็นชั้นคล้ายฐานเจดีย์ สร้างเมื่อ พ.ศ. 1992 ภายในมองเห็นแสงหักเหปรากฏเป็นเงาพระธาตุและพระวิหารในด้านมุมกลับ แต่มีข้อห้ามไม่ให้ผู้หญิงขึ้น
  • กุฏิพระแก้ว เป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต ไม่ปรากฏว่าใครเป็นผู้สร้างและสร้างเมื่อใด แต่ประมาณอายุไม่ต่ำกว่า 400 ปีมาแล้ว
  • วิหารพระเจ้าศิลา เป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าศิลาซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่เก่าแก่ที่สุดในกรุงละโว้ เมื่อ พ.ศ. 1275 พระบิดาของพระนางจามเทวีมอบให้ประดิษฐานไว้ ณ ที่นี้
  • พิพิธภัณฑ์  รวบรวมศิลปวัตถุจากที่ต่าง ๆ ที่หาชมได้ยาก เช่นสังเค็ด ธรรมาสน์ คานหาบ ตู้พระไตรปิฎก เป็นต้น
  • นอกจากนี้วัดพระธาตุลำปางหลวงยังเป็นที่ประดิษฐาน พระแก้วดอนเต้า (พระแก้วมรกต) พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดลำปาง เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ศิลปะล้านนาสลักด้วยหยกสีเขียว ทุกปีจะมีงานนมัสการพระแก้วดอนเต้าในวันเพ็ญเดือน 12  ตามคติความเชื่อของการไหว้พระธาตุปีเกิด พระธาตุลำปางหลวงเป็นพระธาตุประจำปีเกิดของคนเกิดปีฉลู  นักท่องเที่ยวสามารถเข้าชมวัดพระธาตุลำปางหลวงได้ทุกวัน ระหว่างเวลา 07.30-17.00 น.
        การเดินทาง   ห่างจากตัวเมืองลำปางประมาณ 18 กิโลเมตร ตามทางหลวงสายลำปาง-เถิน ถึงหลักกิโลเมตรที่ 586 เลี้ยวเข้าไปจนถึงที่ว่าการอำเภอเกาะคา จากนั้นเลี้ยวขวาเข้าไปอีก 2 กิโลเมตร ถึงทางแยกเข้าอีก 1 กิโลเมตร หรือหากเดินทางโดย รถโดยสารประจำทาง สามารถใช้บริการรถสองแถวสีฟ้าที่ถนนรอบเวียงใกล้ตลาดออมสิน

ขอบคุณข้อมูลจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
http://thai.tourismthailand.org/attraction/lampang-52-573-1.html