Posted by Ceramic Lampang Online



                   สวัสดีค่ะ ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ของเรานะคะ เว็บไซต์แห่งนี้เป็นเว็บไซต์ที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์เซรามิคลำปาง ส่งตรงจากโรงงาน เช่น จานกาไก่ ,ถ้วยกาไก่ ,แก้วกาไก่ ,ของประดับตกแต่ง ของชำร่วย ฯลฯ  บริการขายส่งทั่วประเทศ  สินค้าที่เรานำมาลงไว้ในเว็บไซต์นั้น สินค้าที่เรามีจัดจำหน่ายจริง ๆ แล้วมีเยอะกว่าที่ลงไว้นะคะ ถ้าสนใจหรืออยากได้สินค้าเพิ่มเติมก็สามารถติดต่อสอบถามได้ตามที่อยู่ที่ให้ไว้ค่ะ แม่ค้าจะทยอยนำผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ มาลงให้เรื่อย ๆ สนใจสินค้าชิ้นไหน หรือสงสัยอย่างไรก็สอบถามกันมาได้นะคะ ทางร้านเรายึดหลักความซื่อสัตย์ จริงใจ และบริการด้วยความเป็นกันเองค่ะ ขอให้มีความสุขกับการเลือกชมสินค้าของเรานะคะ ^_______________^

เอาบทความ The first ceramics มาฝากค่ะ  

Posted by Ceramic Lampang Online

Ceramics are produced by heating natural earth until it changes form (without melting -- glasses are formed by earth heated until it melts and then cools). 

Ceramics are different from merely dried earth or clay, which soften when rewet. Cements and plasters, although similar after hardening in some properties to ceramics, are produced by powdering a mineral and bonding the grains together with water. The high heat at which ceramics are produced drives off water chemically bound to the earth as well as any water that has soaked into it. The result of such heating, depending in part on the type of clay or earth, can be terra cotta, stoneware, china, porcelion, brick, or tile

True ceramics appear rarely in nature, but are sometimes the result of lightning strikes and forest fires. From the control of fire by Homo erectus to the accidental production of ceramics is a very short step. Apparently, the deliberate production of ceramics had to wait until the more inventive Homo sapiens arrived on the scene.

At one time archaeologists believed that deliberate ceramics were a fairly recent discovery, 10,000 years old at the most. A popular theory was that basketry was invented first, but baskets do not hold liquids well. According to this theory, early people solved this problem by lining baskets with clay, which is impermeable. Sometimes baskets so lined got burned and the clay lining was left behind as a pot. Eventually, people found that they did not have to start with the basket. This theory is reminiscent of Charles Lamb's famous essay on the discovery of roast pig via burning down the house.

Ceramics may or may not precede basketry (which is, of course, biodegradable and easily lost from the archaeological record), but they certainly date much before 10,000 bce. Furthermore, ceramics were being deliberately made well before the first known ceramic pot. About 28,000 bce, in the region now known as the Czech Republic, people built kilns and produced small ceramic figures and beads. Ovens that may have been kilns as well go back another 14,000 years.

Practical ceramics -- pottery and brick -- start with the Neolithic Revolution. The first bricks, however, were not ceramics; they were adobe, clay or mud hardened by drying but without the chemically bound water driven off by heat. When kiln-dried bricks became available, the cost of making them resulted in their being reserved for special monumental buildings; the common people continued to build houses with sun-dried brick.

Pottery was shaped by hand during the Neolithic. Sometimes a large pot would be built and fired in sections that were then glued together with clay and fired again. The invention of the potter's wheel near the start of civilization was a great step, leading not only to better pottery but also to the general principle of the wheel for use in transportation and machinery.

www.answers.com

มารู้จักวัดพระธาตุลำปางหลวงกัน  

Posted by Ceramic Lampang Online

                  
วันนี้ร้าน ceramiclampangonline พามาไหว้พระกันค่ะ

วัดพระธาตุลำปางหลวง เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองลำปางมาแต่โบราณ ตามตำนานกล่าวว่ามีมาตั้งแต่สมัยพระนางจามเทวี ในราวพุทธศตวรรษที่ 20 ตอนปลาย เป็นวัดไม้ที่สมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของไทย งดงามด้วยสถาปัตยกรรมเก่าแก่มากมายได้แก่  
  • พระธาตุลำปางหลวง  เป็นพระธาตุประจำปีเกิดของคนปีฉลู ด้วยเริ่มสร้างในปีฉลูและเสร็จในปีฉลูเช่นกัน ฐานเป็นบัวลูกแก้ว ส่วนองค์เป็นทรงกลมแบบล้าน ภายนอกบุด้วยทองจังโก ยอดฉัตรทำด้วยทองคำ มีลายสลักดุน เป็นลวดลายประจำยามแบบต่าง ๆ ลักษณะเจดีย์แบบนี้ได้ส่งอิทธิพลต่อพระธาตุหริภุญไชย และพระบรมธาตุจอมทอง ภายในองค์พระเจดีย์บรรจุพระเกศา และพระอัฐิธาตุจากพระนลาฎข้างขวา พระศอด้านหน้าและด้านหลัง ที่รั้วทองเหลืองรอบองค์พระธาตุมีรูกระสุนปืนที่หนานทิพย์ช้างยิงท้าวมหายศ ปรากฏอยู่
  • วิหารหลวง  วิหารขนาดใหญ่ที่สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2019 โดยเจ้าหมื่นคำเป๊ก ภายในมีซุ้มปราสาททองเป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าล้านทอง ด้านหลังเปนที่ประดิษฐานพระเจ้าทันใจ บนแผงไม้คอสองมีภาพจิตรกรรมเก่าแก่งดงามเรื่องทศชาติและพรหมจักร
  • วิหารพระพุทธ ไม่ปรากฏว่าสร้างเมื่อใด และใครเป็นผู้สร้าง แต่ประมาณอายุไม่ต่ำกว่า 700 ปี เดิมเป็นวิหารเปิดโล่งหน้าบันเป็นลายดอกไม้ติดกระจกสี ภายในประดิษฐานพระประธานเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่เต็มอาคาร ก่ออิฐถือปูน ศิลปะเชียงแสน และยังปรากฏเงาพระธาตุภายในวิหารอีกด้วย
  • เมื่อหันหน้าเข้าหาวิหารหลวง ด้านขวามือ คือ วิหารน้ำแต้ม หรือวิหารภาพเขียนสี (“แต้ม” แปลว่า ภาพเขียน) สร้างเมื่อ พ.ศ.2044 เป็นวิหารเปิดโล่งที่เก่าแก่ที่สุดอีกหลังหนึ่งทางภาคเหนือ ภายในเป็นรูปแบบของสถาปัตยกรรมไทยที่งดงาม ไม่มีฝ้าเพดาน กำแพงด้านพระประธานเขียนภาพลายทองบนพื้นรักแดง มีภาพจิตรกรรมศิลปะล้านนาบนแผงไม้คอสองที่กล่าวกันว่าเก่าแก่ที่สุด และหลงเหลือเพียงแห่งเดียวในเมืองไทย อายุราวพุทธศตวรรษที่ 21 ลงมา แต่ปัจจุบันภาพเขียนลบเลือนไปมาก และประดิษฐานพระพุทธรูปสัมริดปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 1.25 เมตร สูง 1.25 เมตร
  • ซุ้มพระบาท สร้างครอบพระพุทธบาทไว้ ฐานก่อขึ้นเป็นชั้นคล้ายฐานเจดีย์ สร้างเมื่อ พ.ศ. 1992 ภายในมองเห็นแสงหักเหปรากฏเป็นเงาพระธาตุและพระวิหารในด้านมุมกลับ แต่มีข้อห้ามไม่ให้ผู้หญิงขึ้น
  • กุฏิพระแก้ว เป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต ไม่ปรากฏว่าใครเป็นผู้สร้างและสร้างเมื่อใด แต่ประมาณอายุไม่ต่ำกว่า 400 ปีมาแล้ว
  • วิหารพระเจ้าศิลา เป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าศิลาซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่เก่าแก่ที่สุดในกรุงละโว้ เมื่อ พ.ศ. 1275 พระบิดาของพระนางจามเทวีมอบให้ประดิษฐานไว้ ณ ที่นี้
  • พิพิธภัณฑ์  รวบรวมศิลปวัตถุจากที่ต่าง ๆ ที่หาชมได้ยาก เช่นสังเค็ด ธรรมาสน์ คานหาบ ตู้พระไตรปิฎก เป็นต้น
  • นอกจากนี้วัดพระธาตุลำปางหลวงยังเป็นที่ประดิษฐาน พระแก้วดอนเต้า (พระแก้วมรกต) พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดลำปาง เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ศิลปะล้านนาสลักด้วยหยกสีเขียว ทุกปีจะมีงานนมัสการพระแก้วดอนเต้าในวันเพ็ญเดือน 12  ตามคติความเชื่อของการไหว้พระธาตุปีเกิด พระธาตุลำปางหลวงเป็นพระธาตุประจำปีเกิดของคนเกิดปีฉลู  นักท่องเที่ยวสามารถเข้าชมวัดพระธาตุลำปางหลวงได้ทุกวัน ระหว่างเวลา 07.30-17.00 น.
        การเดินทาง   ห่างจากตัวเมืองลำปางประมาณ 18 กิโลเมตร ตามทางหลวงสายลำปาง-เถิน ถึงหลักกิโลเมตรที่ 586 เลี้ยวเข้าไปจนถึงที่ว่าการอำเภอเกาะคา จากนั้นเลี้ยวขวาเข้าไปอีก 2 กิโลเมตร ถึงทางแยกเข้าอีก 1 กิโลเมตร หรือหากเดินทางโดย รถโดยสารประจำทาง สามารถใช้บริการรถสองแถวสีฟ้าที่ถนนรอบเวียงใกล้ตลาดออมสิน

ขอบคุณข้อมูลจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
http://thai.tourismthailand.org/attraction/lampang-52-573-1.html

มารู้จักที่มาของ "ชามกาไก่" ผลิตภัณฑ์เซรามิคที่เป็นเอกลักษณ์ของเมืองลำปาง  

Posted by Ceramic Lampang Online

          ชามไก่ “ ชามไก่ ” หรือที่คนแต้จิ๋วเรียก “ โกยอั้ว ” และที่ ปัจจุบันนิยมเรียก “ ชามตราไก่ ” นั้น  มีประวัติ ความเป็นมาที่ยาวนาน ซึ่งในประเทศไทยเป็นที่นิยมใช้สำหรับใส่ข้าวต้มรับประทาน โดยเฉพาะในหมู่คนจีนแต้จิ๋วตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่สองด้วยเอกลักษณ์ที่โดดเด่นจากรูปไก่สีแดง และลักษณะของชามที่เหมาะกับการใช้ตะเกียบพุ้ย 
          
ลักษณะของชามไก่ 
         ชามไก่ในยุคแรกเป็นชามทรงแปดเหลี่ยมเกือบกลมปากบาน ข้างชามด้านนอกมีรอยบุบเล็กน้อยรับกับ เหลี่ยมของชาม ขาเป็นเชิง ชุบเคลือบขี้เถ้า วาดลวดลายบนเคลือบด้วยมือเป็นรูปไก่ ขนคอและลำตัวสีแดง หางและขาสีดำเดินอยู่บนหญ้าสีเขียว มีดอกโบตั๋นสีชมพูออกม่วงใบสีเขียวตัดเส้นด้วยสีดำอยู่ด้านซ้าย และมีต้นกล้วย 3 ใบสีเขียวตัดเส้นด้วยสีดำอยู่ด้านขวา นอกจากนั้นชามบางใบยังมีนกบินห้อยหัวอยู่ฝั่งตรงข้ามกับไก่ และมีดอกไม้และใบไม้เล็ก ๆ แต้มอยู่ก้นชามด้านในอีกด้วย 

ในยุคแรกชามไก่มี 4 ขนาด คือ
          ขนาด ปากกว้าง 5 นิ้ว ( เสี่ยวเต้า ) 6 นิ้ว ( ตั่วเต้า ) 7 นิ้ว ( ยี่ไห้ ) และ 8 นิ้ว ( เต๋งไห้ ) ชามไก่ขนาด 5 – 6 นิ้ว สำหรับใช้ในบ้านและร้านข้าวต้มชั้นผู้ดี ส่วนชามไก่ขนาด 7 – 8 นิ้ว เหมาะสำหรับ เป็นชามให้หมู่กุลีที่ทำงานหนักใช้ เพราะรับประทานจุ 

วิธีผลิตแบบโบราณ 
         เริ่มจากการผสมดินโดยย่ำด้วยเท้าและนวดด้วยมือ จากนั้นนำดินมาปั้นตบเป็นดินแผ่นแล้วจึงอัดดินลงแม่พิมพ์ปูนพลาสเตอร์ หมุนขึ้นรูปชามเป็นวงกลมด้วยมือ ปาดด้วยไก๊ (ไม้ปาดตัดเป็นรูปโค้ง) แล้วนำมาต่อขา ทิ้งชามที่ขึ้นรูปแล้วเสร็จไว้บนกระดานให้แห้งโดยธรรมชาติ นำมาชุบเคลือบที่ทำจากขี้เถ้าแกลบปูนหอยและดินขาว จากนั้นบรรจุลงจ้อนำไปเรียงในเตามังกรเผาด้วยฟืนในความร้อนประมาณ 1300 องศาเซลเซียส ระยะเวลา 18-24 ชั่วโมง เมื่อเผาสุกดีแล้วจึงนำชามมาเขียนสีบนเคลือบด้วยพู่กันเป็นลายไก่ ดอกไม้และต้นกล้วย แล้วเผาในเตาอบรูปกลม ภายในเป็นถังดินขนาดใหญ่ ด้วยความร้อนประมาณ 700 – 750 องศาเซลเซียส ด้วยฟืนประมาณ 5 – 6 ชั่วโมง รอจนเย็นจึงบรรจุใส่เข่งส่งจำหน่าย 

ความเป็นมาของชามไก่ 
          ชามไก่มีต้นกำเนิดการผลิตในประเทศจีนกว่าร้อยปีมาแล้ว โดยชนชาวจีนแคะ ตำบลกอปี อำเภอไท้ปู มณฑลกวางตุ้ง และชาวจีนแต้จิ๋ว ที่ตำบลปังโคย ซึ่งมีเขตติดต่อกันทางใต้ ชามไก่นอกจากใช้ในประเทศจีนแล้ว ยังส่งจำหน่ายแก่ชาวจีนโพ้นทะเลด้วย ดังนั้นส่วนหนึ่งจึงส่งมาจำหน่ายยังประเทศไทย ซึ่งมีชาวจีนโดยเฉพาะชาวแต้จิ๋วอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก 

ชามไก่ลำปางในประเทศไทย
          เนื่องจากในระยะก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง ยังไม่มีผู้ผลิตชามไก่ในประเทศไทย และมีความต้องการจากตลาดมาก พ่อค้าชาวจีนซึ่งอยู่แถวถนนทรงวาดตลาดเก่าในกรุงเทพฯ จึงสั่งนำเข้าชามไก่มาจากประเทศจีน ซึ่งในขณะนั้นมีราคาถูกมาก ต่อมาเกิดสงครามจีนญี่ปุ่นขึ้น ทำให้ชามไก่ขาดตลาด ของที่นำเข้าไม่พอขาย และราคาสูงขึ้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2480 ถึง 2500 มีช่างชาวจีนย้ายถิ่นฐานเข้ามาในประเทศไทย ได้มีการก่อเตามังกร และทำเครื่องปั้นดินเผาซึ่งรวมถึงชามไก่ด้วยเพราะเป็นที่ต้องการของตลาด ซึ่งได้แก่โรงงานอุตสาหกรรมดินเผา สี่แยกราชเทวี ถนนเพชรบุรี กรุงเทพฯ โรงงานบุญอยู่พาณิชย์ และ โรงงานศิลามิตร จังหวัดเชียงใหม่ และโรงงานของ นายทวี ผลเจริญ ที่วงเวียนใหญ่ จังหวัดธนบุรี ซึ่งชามไก่ในช่วงนั้นมีไม่มากนัก เนื่องจากยังขาดดินคุณภาพดี ช่างชาวจีนเหล่านี้ส่วนหนึ่งจึงได้ย้ายขึ้นมาตั้งโรงงานที่จังหวัดลำปาง หลังจากได้มีการพบดินขาวที่อำเภอแจ้ห่ม

ชามไก่ในจังหวัดลำปาง 
            ชามไก่เริ่มมีการผลิตขึ้นในจังหวัดลำปาง เมื่อปี พ.ศ. 2500 โดยชาวจีนเมืองไท้ปู (ในฮกเกี้ยน ) 4 คน คือ นายซิมหยู (โรงงานธนบดีสกุลในปัจจุบัน) นายเซี่ยะหยุย แซ่อื้อ (โรงงานไทยมิตรในปัจจุบัน) นายซิวกิม แซ่กว๊อก (โรงงานกฎชาญเจริญในปัจจุบัน) และนายซือเมน แซ่เทน (โรงงานเจริญเมืองในปัจจุบัน) ได้ร่วมกันก่อตั้งโรงงาน เครื่องปั้นดินเผาแห่งแรกของจังหวัดลำปางชื่อ “โรงงานร่วมสามัคคี” ที่หมู่บ้านป่าขาม อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ผลิตชามไก่ขนาด 6” และ 7” และถ้วยยี่ไฮ้ สามปีต่อมาหุ้นส่วนต่าง ๆ ก็ได้แยกตัวออกไปเปิดโรงงานผลิตถ้วยชามของตนเอง ระหว่างปี พ.ศ. 2502 – 2505 กลุ่มชาวจีนได้ทยอยกันมาตั้งโรงงานผลิตถ้วยชามที่จังหวัดลำปางมากขึ้น ทำให้เป็นแหล่งผลิตชามไก่มากกว่าแหล่งอื่น ๆ ในประเทศ จึงเป็นช่วงที่มีการผลิตชามไก่กันมากที่สุด และได้ราคาดี เนื่องจากไม่สามารถนำเข้าชามไก่จากประเทศจีนได้ ซึ่งในสมัยนั้น ชามไก่ขนาด 6 นิ้วที่คุณภาพดี ได้ราคาถึงใบละ 1.50 บาท 

วิธีการผลิตชามไก่ในลำปาง 
            วิธีการผลิตชามไก่ในลำปางเมื่อเริ่มแรกนั้น อาศัยวัสดุอุปกรณ์ท้องถิ่นมาใช้ในการขึ้นรูป โดยหาล้อจักรยานมาเป็นแป้นหมุน มีแผ่นไม้ตัดเป็นรูปโค้งขนาดเหมาะมือจับ (จิ๊กเกอร์มือ) ขว้างดินที่หมักเปียก (ดินขาวลำปาง) ลงบนพิมพ์ ซึ่งหมุนบนล้อจักรยาน แล้วใช้จิ๊กเกอร์ไม้กวาดแต่งเติมดินให้ได้รูปทรงถ้วยกลมทีละใบ แล้วนำมาต่อขา โดยที่ชามไกใ่นยุคแรก ๆ จะค่อนข้างหนา สำหรับการเคลือบ ใช้ เคลือบขี้เถ้าแกลบตำบดในครกขนาดใหญ่ โดยใช้แรงคนเหยียบหลายวันจนละเอียด แล้วนำมาร่อนตะแกรง ก่อนจะนำมาแช่น้ำในบ่อให้ตกตะกอน นำเอาส่วนที่ไม่ตกตะกอนมาใช้ แล้วนำถ้วยชามมาจุ่มเคลือบทั้งใบ วิธีการเผานั้น ใช้เตามังกรโบราณแบบกอปี นำฟืนไม้ไผ่แห้งเป็นเชื้อเพลิง เตามีลักษณะยาวประมาณ 15-20 เมตร ทำช่อง ใส่ฟืนเป็นระยะ ๆ ภายในก่อเป็นขั้นบันไดตามความยาวของเตา โดยนำถ้วยชามที่เคลือบเสร็จมาบรรจุในจ๊อทนไฟ นำมาเรียงในเตาและเผาที่อุณหภูมิสูงประมาณ 1250 – 1300 องศาเซลเซียส นาน 24 ชั่วโมง ถ้วยชามที่เผาจึงสุกตัวพอดี ซึ่งสามารถสังเกตได้ด้วยประสบการณ์พิเศษ โดยการสังเกตุสีของเปลวไฟ และการชักตัวอย่าง เนื่องจากในสมัยนั้นไม่มีเครื่องมือวัดอุณหภูมิในเตาเผา 

การวาดลายไก่บนชามเคลือบ 
             ได้มีการฝึกคนงานในท้องถิ่นตวัดพู่กันจีน โดยให้คนวาด 2 – 3 คน วาดเป็นส่วน ๆ ต่อเติมจนเต็มรูปแบบในแต่ละใบ แต่ละคนจะจับพู่กันทีละ 2 –3 ด้ามในเวลาเดียวกัน จากนั้นนำมาเผาในเตากลมอุณหภูมิประมาณ 750 องศาเซลเซียส 
              ชามไก่ที่ผลิตได้ในรุ่นแรก ๆ มีไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด สาเหตุหนึ่งเพราะความยุ่งยากและความล่าช้าของขั้นตอนกรรมวิธีการผลิต 

การเปลี่ยนแปลงของชามไก่
              ในการเปลี่ยนรูปแบบ เมื่อโรงงานต่างๆ หันมาลดต้นทุนในการผลิต เพื่อให้สามารถขายได้ในราคาต่ำลง โดยเริ่มใช้เครื่องปั้น หรือเครื่องจิ๊กเกอร์เข้ามาช่วยในการผลิต ชามไก่จึงมีลักษณะกลมไม่เป็นเหลี่ยม และต่อมาได้มีการทำแม่พิมพ์ให้มีขาชามในตัว เพื่อจะได้ไม่ต้องต่อขาชามภายหลัง ขาชามไก่รุ่นหลังจึงไม่เป็นเชิง จะตรงลงมาในแนวดิ่ง ชามไก่เริ่มเปลี่ยนไปอย่างมาก เมื่อโรงงานเสถียรภาพที่อ้อมน้อย จังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งเป็นโรงงานขนาดใหญ่สร้างเตาอุโมงค์เผาด้วยน้ำมันเตาในปี พ.ศ. 2505 และสามารถเผาถ้วยชามแบบเผาครั้งเดียวได้ ซึ่งรวมถึงการเผาถ้วยชามที่วาดสีใต้เคลือบในครั้งเดียวกันโดยไม่ต้องอบสีในภายหลัง ลักษณะของชามไก่ที่ผลิตขึ้นในช่วงนี้ ลายไก่วาดด้วยสีเขียวหาง น้ำเงิน ดอกไม้สีชมพู ลายวาดลดความละเอียดลง ราคาขายก็ถูกลง สามารถทำตลาดได้ดี เนื่องจากราคาถูกและลวดลายไม่ถลอกได้ง่าย จากนั้นราคาชามไก่ก็ถูกลงเรื่อย ๆ ตั้งแต่ปี 2506 โรงงานถ้วยชามเริ่มหันมาผลิตถ้วยชามรูปแบบอื่น ๆ มากขึ้น โดยเฉพาะถ้วยชามแบบญี่ปุ่น ซึ่งเข้ามาแทนที่ด้วยเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยขึ้น จังหวัดลำปางเป็นเพียงจังหวัดเดียวที่ยังผลิตชามไก่มาอย่างต่อเนื่อง แต่หาช่างฝีมือที่คงรูปแบบเดิมยาก อีกทั้งสีที่วาดมีราคาแพง ส่วนใหญ่จึงใช้สีวาดใต้เคลือบ เผาครั้งเดียว ที่อุณหภูมิประมาณ 1260 องศาเซลเซียส การวาดลายไก่มีการเปลี่ยนมาใช้สีชมพู หางสีน้ำเงิน แซมใบไม้ สีเขียวเข้ม และราคาขายชามไก่ขนาด 6 นิ้ว ในปี พ.ศ. 2516 มีราคาเพียงใบละ 40 สตางค์ เท่านั้น ทั้งยังมีการผลิตน้อยลงเรื่อย ๆ และการผลิตด้วยสีบนเคลือบแบบดั้งเดิมเริ่มหายไปจากตลาด 

ชามไก่ในยุคปัจจุบัน 
                  เมื่อชามไก่ในยุคหลัง ๆ ได้เปลี่ยนไปจากเดิมมาก และกลายเป็นสินค้าราคาถูก จึงเริ่มมีการสะสม และกว้านซื้อชามไก่ในรุ่นแรก ๆ ซึ่งมีสีสันสวยงามจนทำให้ชามไก่รุ่นแรก ๆ หายไปจากตลาด จนเริ่มมีบางโรงงาน หันกลับมาผลิตชามไก่ให้คล้ายกับรุ่นแรก ๆ โดยขายในราคาที่สูงขึ้น สมาคมเครื่องปั้นดินเผาลำปางเห็นความสำคัญของชามไก่ ซึ่งเป็นเครื่องปั้นดินเผาในยุคแรกของจังหวัดลำปาง และยังคงมีผลิตอยู่แห่งเดียวในประเทศไทย เห็นสมควรที่จะรักษาไว้ จึงได้สร้างประติมากรรมรูปชามไก่ ขนาดกว้าง 3.5 เมตร ไว้ที่แยกทางเข้าจังหวัดลำปาง ริมถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ เมื่อราวปี พ.ศ. 2542 ให้ผู้ผ่านไปมา ได้รับรู้และเห็นความสำคัญของชามไก่ ที่มีต่อจังหวัดลำปาง และเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทั่วไปหันกลับมาใช้ชามไก่มากยิ่งขึ้น ในช่วง ปี พ.ศ. 2544 มีโรงงานในจังหวัดลำปาง หันกลับมาผลิตชามไก่กันมากขึ้น ทั้งแบบวาดใต้เคลือบ และวาดบนเคลือบแบบเก่า ตามความต้องการของตลาด ทั้งเผาด้วยเตามังกรโดยใช้ฟืนเป็นเชื้อเพลิงและเผาด้วย เตาแก๊ส ชามไก่ที่ผลิตขึ้น มีมากกว่า 10 ขนาด ตั้งแต่ 1 นิ้วไปจนถึง 8 นิ้ว และพัฒนารูปแบบไปหลากหลาย ตั้งแต่ จาน ชาม ถ้วย น้ำ ช้อน และของที่ระลึกต่าง ๆ เพื่อจำหน่ายให้แก่นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวในจังหวัด และบางส่วนยังสามารถส่งออกไปขายต่างประเทศได้อีกด้วย 
                  ชามไก่ถือเป็นต้นกำเนิดของเครื่องปั้นดินเผาจังหวัดลำปาง ซึ่งแม้ว่าปัจจุบันจังหวัดลำปางมีการผลิตเซรามิกหลากหลายประเภท ตั้งแต่เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร ของประดับ ของชำร่วย กระเบื้องสุขภัณฑ์ ลูกถ้วยไฟฟ้า ตลอดจนลูกกรงเซรามิก และแม้ว่าปัจจุบันชามไก่จะไม่ใช่สินค้าที่มีมูลค่าหลักของเซรามิกจังหวัดลำปาง แต่ชามไก่มีความหมายเป็นสัญลักษณ์ของเครื่องปั้นดินเผาจังหวัดลำปาง และจะอยู่ในความทรงจำของกลุ่มผู้ผลิตเซรามิกจังหวัดลำปาง และของคนไทยตลอดไป

              "คราวหน้าเราจะนำบทความที่เกี่ยวกับเซรามิคลำปางอะไรมาฝากกัน ต้องติดตามให้ได้นะคะ "